คลังเก็บหมวดหมู่: ทั่วไป

ประเด็น : บุตรนอกกฎหมายที่บิดาไม่รับรองมีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งให้บิดารับเป็นบุตรได้ แม้บิดาจะตายไปแล้ว ถ้าศาลมีคำสั่งให้ บุตรมีสิทธิรับมรดกของบิดาได้

คำพิพากษาฎีหาที่ 2698/2536 ผู้ตายได้ทำบันทึกมีข้อความระบุว่า ผู้ร้องยินยอมรับเงินจำนวน15,000 บาท เป็นค่าทดแทนกรณีที่ผู้ร้องมีบุตรกับผู้ตาย โดยผู้ร้องลงลายมือชื่อในฐานะผู้ให้สัญญา ส่วนผู้ตายลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับสัญญา บันทึกดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเอกสารของผู้ตายที่ยอมรับว่าเด็กหญิง ม. เป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1555(3) แล้ว

ประเด็น : การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะเหตุอื่นนอกจากการสมรสซ้อน ถ้ายังไม่มีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ การสมรสยังคงมีผลผูกพันอยู่ สามารถรับมรดกของอีกคนหนึ่งได้

ฎ.3898/2548 บุคคลที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1458 (ไม่ยินยอม) ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ได้แก่ คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส หรืออัยการ เมื่อผู้คัดค้าน (น้องร่วมบิดามารดา) ไม่ใช่บุคคลดังกล่าวจึงไม่อาจขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องเป็นโมฆะได้
.
ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับผู้ตาย (โดยไม่ยินยอม = โมฆะ ม.1458,1495) ผู้ร้องย่อมเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย หากการสมรสไม่ถูกต้องตามกฎหมายคำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1496 เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องและศาลไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายจึงยังคงมีอยู่ ผู้ร้องจึงยังเป็นคู่สมรสของผู้ตาย เป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1629 วรรคสอง และมีสิทธิขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

ประเด็น : ผู้ซื้อแคชเชียร์เช็คไม่ใช่ผู้ทรงไม่มีสิทธิฟ้องธนาคารให้ชำระเงินตามเช็ค

คำพิพากษาฎีกาที่ 6951/2562 แคชเชียร์เช็คพิพาทระบุชื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับเงิน แม้ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือตามคำสั่ง”แต่ได้มีการขีดคร่อมพร้อมกับมีข้อความว่า “A/C Payee Only” ในช่องขีดคร่อม อันมีความหมายว่าห้ามเปลี่ยนมือและต้องจ่ายเงินเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ 1 ที่มีแก่ธนาคารเท่านั้น โจทก์ที่ 1 จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท แม้ในช่วงแรกของการเรียกร้องกันโจทก์ที่ 1 จะปฏิเสธไม่รับรู้การทำประกันชีวิตให้แก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 “แต่ตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา 70/1 บัญญัติให้บริษัทประกันชีวิตต้องร่วมรับผิดกับตัวแทนประกันชีวิตต่อความเสียหายที่ตัวแทนประกันชีวิตนั้นได้ก่อขึ้นจากการกระทำการเป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท โจทก์ที่ 1 จึงเป็นผู้ทรงแคชเชียร์เช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม

โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 เป็นผู้ซื้อแคซเชียร์เช็คจากธนาคารผู้ออกเช็คมิได้เป็นผู้ทรงแคชเชียร์เช็คพิพาท จึงมิใช่เจ้าของอันแท้จริงแห่งเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1000 ที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชดใช้เงินตามแคชเชียร์เช็คพิพาท

โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ทรงแคชเชียร์เช็ดพิพาทขีดคร่อมพร้อมกับมีข้อความว่า “A/C PayeeOnly” ในช่องขีดคร่อมซึ่งมีความหมายทำนองเดียวกับ “เปลี่ยนมือไม่ได้” หรือ “ห้ามเปลี่ยนมือ”ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 995 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีวิชาชีพประกอบการธนาคารเรียกเก็บเงินตามแคชเชียร์เช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของจำเลยที่ 3 ทั้งที่ต้องนำเงินตามแคชเชียร์เช็คพิพาทเข้าบัญชีของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยประมาทเลินเล่อ. เป็นกระทำละเมิดต่อโจทก์

โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขีดคร่อมและมีข้อความว่า “A/C Payee Only” มีความหมายทำนองเดียวกับ “เปลี่ยนมือไม่ได้” หรือ “ห้ามเปลี่ยนมือ” และมีอำนาจฟ้องธนาคารจำเลยที่ 1 ที่ต้องนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น แต่นำเข้าบัญชีของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 1 และต้องถือว่าวันที่จำเลยที่ 1 สามารถเรียกเก็บเงินและนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 3 เป็นเวลาที่มีการกระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 ที่โจทก์ที่ 1 มีสิทธิเริ่มคิดดอกเบี้ยเป็นต้นไป

ประเด็น : ชายหญิงที่อยู่กินร่วมกันและทำมาหาได้ร่วมกัน เมื่อเลิกกันสามารถฟ้องแบ่งทรัพย์สินกันได้อย่างกรรมสิทธิ์รวม แต่ต้องฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมทั่วไป คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว

คำวินิจฉัยประธานศาลฎีกาที่ 15/2543 ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินของชายหญิงที่มาอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส ไม่ใช่คดีครอบครัว

ประเด็น : ลูกจ้างได้รับค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมแล้ว ยังมีสิทธิได้รับค่าชดเชย

คำพิพากษาฎีกาที่ 2546/2560 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กับ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 กำหนดการเยียวยาแก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างไว้แตกต่างกันและเป็นกฎหมายคนละฉบับ กล่าวคือถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยหรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ารวมทั้งเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับนายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวได้ ตามมาตรา 123 และมาตรา 124 โดยไม่จำต้องคำนึงว่าการเลิกจ้างของนายจ้างนั้นเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 และมาตรา 123 หรือไม่ เพราะหากการเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมด้วยก็ไม่ตัดสิทธิลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างจะใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงานสัมพันธ์เพื่อพิจารณาวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 124 และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจวินิจฉัยออกคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือให้จ่ายค่าเสียหายหรือให้นายจ้างปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งได้ตามที่เห็นสมควรตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 125 และมาตรา 41(4) ทั้ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 7 บัญญัติว่า การเรียกร้องหรือการได้มาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้ตามกฎหมายอื่น ดังนั้น การที่ลูกจ้างทั้งสิบของโจทก์นำเหตุแห่งการเลิกจ้างเดียวกันไปร้องทั้งต่อพนักงานตรวจแรงงานและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ จึงไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อน ทั้งยังไม่อาจถือได้ว่าลูกล้างทั้งสิบสละสิทธิหรือไม่ถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของจำเลย

ประเด็น : ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเพราะเกี่ยวข้องกับการแจ้งข้อเรียกร้อง หรือเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน หรือเป็นสมาชิกสหภาพ ถ้าได้รับค่าเสียหายจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมอีก

คำพิพากษาฎีกาที่ 4094/2561 การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม หรือจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น แม้บทบัญญัติของพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 จะกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไว้แตกต่างกันและเป็นกฎหมายต่างฉบับกันก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์จะให้ความคุ้มครองแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างในการได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยผู้เป็นนายจ้างเช่นเดียวกัน สำหรับกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือศาลแรงงานกลางไม่เห็นสมควรให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานอีก เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ได้ความว่า คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการที่จำเลยกระทำการอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121(2) และภายหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวต่อศาลแรงงานกลาง จำเลยได้วางเงินเพื่อชำระค่าเสียหายให้โจทก์รับไปแล้วซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยเป็นคดีนี้ก็เป็นค่าเสียหายที่มาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างของจำเลยในคราวเดียวกันเมื่อโจทก์เข้ารับเอาเงินแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายในคดีนี้อีก

——————————

สอบถาม/สมัครเรียนได้ที่…
LINE Official : @Smartlawtutor
หรือคลิ้ก https://lin.ee/C7fWn1q
โทร.086-987-5678 (09.00-24.00 น. ทุกวัน)

ประเด็น : จำเลยแทงผู้ตาย 2 ที แล้วมีโทสะจริตคลุ้มคลั่งขึ้นมา จนขาดสติ จึงจ้วงแทงอย่างไม่ยับยั้ง เกิดเป็นบาดแผลที่ร่างกายผู้ตาย 30 กว่าแผล ยังไม่พอจะถือว่าจำเลยได้กระทำไปด้วยการทารุณโหดร้าย ตามป.อ. มาตรา 289(5) ฎ.1614/2513

ป.อ. มาตรา 289(5) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต

คำพิพากษาฎีกาที่ 1614/2513 จำเลยใช้เหล็กขูดชาร์ปแทงผู้ตายซึ่งเป็นหญิงปราศจากอาวุธ และไม่อยู่ในฐานะที่จะหลบหลีกหรือต่อสู้จำเลยได้ โดยจ้วงแทงเอาอย่างไม่ยับยั้ง เกิดเป็นบาดแผลที่ร่างกายผู้ตาย 30 กว่าแผลและผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมาดังนี้ เมื่อมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยแทงผู้ตายทีสองทีแล้วมีโทสะจริตคลุ้มคลั่งตามติดขึ้นมา จนขาดสติ จึงได้แทงผู้ตายไปโดยไม่ยับยั้งเช่นนั้นแล้วก็ยังไม่พอจะถือว่าจำเลยได้กระทำไปด้วยการทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(5)

ประเด็น : จำเลยนำรถมาจอดทิ้งไว้ที่ศูนย์บริการหลายปี ทั้งที่คาดหมายได้ว่าโจทก์จะไม่ดำเนินการซ่อมให้อย่างแน่นอน ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ในการที่จะใช้ประโยชน์สถานที่ซึ่งจอดรถทิ้งไว้ เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ (ฎ.2730/2560)

ฎีกาที่ 2730/2560 การที่จำเลยทั้งสองไม่ยอมไปรับรถยนต์พิพาทคืนทั้งที่อยู่ในวิสัยที่คาดหมายได้ว่า โจทก์ไม่ดำเนินการซ่อมระบบเบรกรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองอย่างแน่นอน โดยยังคงจอดรถยนต์พิพาททิ้งไว้บริเวณศูนย์บริการของโจทก์มาเป็นเวลาหลายปี ย่อมถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการที่จะใช้ประโยชน์ในสถานที่ที่จำเลยทั้งสองจอดรถยนต์พิพาททิ้งไว้ การที่โจทก์มาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับรถยนต์พิพาทกลับคืนไปและชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง (โจทก์เพียงแค่ผิดสัญญาจ้างทำของที่ไม่ซ่อมรถให้ตามสัญญา แต่ไม่ได้ทำให้รถของจำเลยเสียหายแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่ได้ทำละเมิดต่อจำเลย)

ประเด็น : จำเลยยิงปืนใส่กลุ่มบุคคลเป็นเจตนาเล็งเห็นผล ไม่ใช่การกระทำโดยพลาดหรือประมาท คำพิพากษาฎีกาที่ 6684/2562

คำพิพากษาฎีกาที่ 6684/2562 ความผิดฐานกระทำโดยพลาด ตาม ป.อ. มาตรา 60 นั้น หมายความว่าผู้ใด เจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไป กฎหมายย่อมถือเจตนาของผู้กระทำเป็นสำคัญว่า ไม่ได้มีเจตนากระทำต่อผู้ที่ถูกกระทำโดยพลาด แต่เป็นกรณีที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ และต้องไม่ใช่กรณีที่ผู้กระทำเล็งเห็นผลของการกระทำโดยเจตนาเล็งเห็นผล

วันเกิดเหตุเป็นวันเทศกาลสงกรานต์ การจราจรติดขัด มีรถยนต์และผู้คนกําลังเล่นน้ำ สงกรานต์ในวันเทศกาลอย่างพลุกพล่าน แต่ทิศทางที่จําเลยที่ 1 เล็งปืนไปข้างหน้าใส่กลุ่มวัยรุ่นนั้น มีรถยนต์แล่นอยู่เป็นแนวโดยตลอดและมีการยิงปืนเพียงข้างเดียวจากจําเลย ที่ 1 ไม่มีการยิงปืนจากฝ่ายตรงข้าม และนอกจากรถยนต์คันที่โจทก์ร่วมนั่งโดยสารมาแล้ว กระสุนปืนที่จําเลยที่ 1 ยิง ยังไปถูกรถกระบะอีกคันหนึ่งด้วย การที่มีผู้คนกําลังเล่นน้ำ สงกรานต์และมีรถยนต์แล่นขวางทางเบื้องหน้า แต่จําเลยที่ 1 ยังคงยิงปืนออกไป ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจําเลยที่ 1 มีเจตนาเล็งเห็นแล้วว่า กระสุนปืนอาจถูกบุคคลอื่นที่อยู่ข้างหน้านั้นได้ การกระทำของจําเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเล็งเห็นผลว่ากระสุนปืนอาจถูกบุคคลอื่นถึงแก่ความตายได้ จําเลยที่ 1 จึงมีเจตนาพยายามฆ่าโจทก์ร่วม หาใช่เป็นการกระทำโดยพลาดไม่

ประเด็น : ชายมอบทองแก่หญิงและมอบเงินแก่มารดาหญิงเพื่ออยู่กินร่วมกัน ต่อมาหญิงหนีออกจากบ้าน ไม่ถือว่าหญิงผิดสัญญาหมั้น เพราะไม่มีเจตนาจดทะเบียนสมรสกันแต่แรก ชายไม่มีสิทธิได้เงินและทองคืนและไม่มีสิทธิ์เรียกค่าทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6943/2562 โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาจะทำการสมรสโดยการจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 ทรัพย์สินที่โจทก์ทั้งสองมอบให้จำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่ของหมั้นเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ทั้่งสองมอบให้จำเลยทั้งสอง เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าโจทก์ที่ 2 จะสมรสกับจำเลยที่ 1 และไม่ใช่สินสอดเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยที่ 2 มารดาของจำเลยที่ 1 เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่ 1 ยอมสมรสตามมาตรา 1437