คลังเก็บหมวดหมู่: วิแพ่ง ภาค 2

หลังจากโจทก์สืบพยานไปแล้วบางส่วน จำเลยขอแก้ไขคำให้การ จากเดิมที่ปฏิเสธว่า ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ เป็นรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้จริง แต่ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว ดังนี้ เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยมีสิทธิขอแก้ไขคำให้การเมื่อล่วงเลยกำหนดระยะเวลาขอแก้ไขแล้ว หรือไม่

คำพิพากษาฎีกที่ 6145/2550 

หลังจากโจทก์ได้สืบพยานไปบางส่วนแล้ว จำเลยที่ 6 และที่ 7 ขอแก้ไขคำให้การเดิที่ให้การปฏิเสธว่า จำเลยที่ 6 และที่ 7 ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นว่า จำเลยที่ 6 และที่ 7 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับโจทก์จริง แต่ต่อมาได้ลาออกจากการเป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 ขณะนั้นจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เพียงเก้าแสนบาทเศษ โจทก์ไม่ฟ้องให้จำเลยที่ 6 และที่ 7 รับผิดภายในอายุความตามกฎหมาย ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง 

เห็นว่า ข้อความที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 ขอแก้ไขเป็นการสละข้อต่อสู้เดิมที่ปฏิเสธว่าไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันแล้วยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ ยอมรับว่าทำสัญญาค้ำประกันแต่ไม่ต้องรับผิดเนื่องจากคดีขาดอายุความ เช่นนี้ข้อความที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 ขอแก้ไขเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 ทราบอยู่แล้ว จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เนื่องจากคดีนี้ไม่มีการสองสถานและกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ทั้งข้อความที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 ขอแก้ไขว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความนั้นไม่ใช่เป็นปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้อง ดังที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 อ้างมาในคำร้องขอแก้ไขดำให้การ จึงหาใช่เป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชชนดังนั้นที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังที่ใจทก์ได้สืบพยานไปบางส่วนแล้วเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 

คดีเดิม โจทก์ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายอ้างว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ เนื่องจากจำเลยใช้อุบายหลอกลวงเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายอ้างว่าสัญญาเช่าครบกำหนดระยะเวลาแล้ว ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเช่าที่ค้างชำระ ดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่

คำพิพากษาฎีกที่ 7695/2550 

คดีเดิมซึ่งเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 885/2544 ของศาลชั้นต้น มีพันเอก ม.เป็นโจทก์ที่ 1 โจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ที่ 2  และจำเลยคดีนี้เป็นจำเลย โจทก์ทั้งสองดังกล่าวฟ้องว่าจำเลยใช้กลอุบายหลอกลวงโจทก์เพื่อให้ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาท จนเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญของทรัพย์สินที่ให้เช่า สัญญาเช่าดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ขอให้พิพากษาว่า สัญญาเช่าเป็นโมฆะ และขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทรวมทั้งทำที่ดินพิพาทให้มีสภาพเหมือนเดิมและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน คดีอยู่ระหว่งการพิจารณาองศาลฎีก สำหรับคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์กับพันเอก ม. บิดาโจทก์ มีกำหนดระยะเวลา 20 ปี แต่มิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาเช่าดังกล่าวจึงมีผลผูกพันเพียง 3 ปี บัดนี้ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่พิพาทอีกต่อไป ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย 

เห็นว่า คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายอ้างว่าสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ เนื่องจากจำเลยใช้อุบายหลอกลวงเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีเดิม คือ จำเลยได้กระทำกลฉ้อฉลโจทกเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมหรือไม่ แต่ในคดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าบัดนี้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี จึงสิ้นผลผูกพันแล้ว สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นเรื่องที่สัญญาเช่าที่พิพาทมีผลบังคับเพียงใด และสิ้นผลผูกพันแล้วหรือไม่ ข้ออ้างหรือประเด็นพิพาทที่ศาลต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ฟ้องโจทกคดีนี้จึงไม่เป็นกรดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ 

คดีแพ่ง ก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกา โจทก์จะยื่นคำร้องขอถอนฟ้องได้หรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 3996/2561 

ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องได้เฉพาะก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเท่านั้น จะขอถอนฟ้องหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วไม่ได้ หากมีการตกลงกันได้ระหว่างคู่ความ ก็ชอบที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในชั้นฎีกา โดยจะทำที่ศาลชั้นต้นหรือศาลฎีกาก็ได้ กรณีจึงไม่อาจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 6 ได้ตามคำร้องของโจทก์ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 6 และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงไม่ชอบ ให้ยกคำร้องขอถอนฟ้องสำหรับจำเลยที่ 6 เสีย แต่เมื่อได้ความว่าภายหลังจากโจทก์ยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 แต่ไม่รับฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 6 และไม่ปรากฏว่ามีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 6 ดังกล่าว ดังนั้น จึงต้องฟังว่า โจทก์ฎีกาเฉพาะจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เท่านั้น 

ฟ้องเดิมโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ ไม่ได้บรรยายเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหาย โจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้หรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 3365/2558  

ฟ้องเดิมโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกต้นปาล์มน้ำมันและเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันและปลูกสร้างอาคารสำนักงานและที่พักคนงานและลูกจ้าง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ทั้งไม่มีสิทธิใด ๆ และไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และโจทก์ หลังจากนั้นโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถนำที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินมาทำการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามอำนาจหน้าที่ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ การแก้ไขคำฟ้องอันสืบเนื่องมาจากการกระทำตามฟ้องเดิมจึงเป็นการแก้ไขคำฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 โดยหาจำต้องแก้ไขข้อหาหรือข้ออ้างได้เฉพาะการสละข้อหาในฟ้องเดิมบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องให้บริบูรณ์ไม่ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องส่วนนี้ได้นั้นชอบแล้ว 

ยื่นฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นไว้แล้ว หากนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องแย้งอีก ฟ้องแย้งต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 2806/2561 

จำเลยที่ เคยยื่นฟ้องโจทกและ ส. ต่อศาลชั้นต้น ขอให้ขับไล่โจทก์และ ส. ออกจากบ้านพักคนงานและที่ดินสวนปาล์มน้ำมันเนื้อที่ 1,821 ไร่ พร้อมกับให้ชำระค่าเสียหาย โจทก์และ ส. ให้การว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าว เนื่องจากจำเลยที่ 1 เชิด ล.(จำเลยที่ 2 คดีนี้) เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือมอบอำนาจและสัญญาให้ใช้ที่ดินเพื่อทำประโยชน์เนื้อที่ 1,821 ไร่ แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับ ห้ามโจกท์และ ส. กับบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องกับบ้านพักคนงาน และออกไปจากที่ดินสวนปาล์มน้ำมันเนื้อที่ 1,821ไร่ และให้โจทก์กับ ส. ร่วมกันชำระค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ศาลฎีกาพิพากษายืน ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวโจทกยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินสวนปาล์มน้ำมันเนื้อที่ 1,821 ไร่ เนื่องจากจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือมอบอำนาจและสัญญาให้ใช้ที่ดินเพื่อทำประโยชน์เนื้อที่ 1,821 ไร่ แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ให้กรต่อสู้และฟ้องแย้งว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยมอบอำนาจให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินสวนปาล์มน้ำมันดังกล่าว และไม่ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในการทำหนังสือมอบอำนาจและสัญญาให้ใช้ที่ดินเพื่อทำประโยชน์ เห็นได้ว่า ที่ดินพิพาททั้งสองคดีเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน คดีทั้งสองมีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกัน ว่าจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในการทำหนังสือมอบอำนาจและสัญญาให้ใช้ที่ดินเพื่อทำประโยชน์ให้แก่โจทก์หรือไม่ คดีทั้งสองจึงเป็นเรื่องเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งของศาลชั้นต้นไว้แล้ว การที่จำเลยที่ 1 นำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องแย้งโจทก์เป็นคดีนี้อีกโดย จำเลยที่ มีฐานะเป็นโจทก์ในส่วนของฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งจึงเป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องในคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องแย้งจำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 (เดิม) 

โจทก์ฟ้องขอให้จําเลยชําระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชําระเสร็จ ศาลจะพิพากษาให้จําเลยชําระดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่รับเงินไว้หรือนับแต่วันผิดนัดได้หรือไม่

าพิพากษาฎีกาที่ 2569/2556  

โจทก์ขอให้บังคับจําเลยชําระเงินพร้อม ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2545 อันเป็นวันฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์ ศาลฎีกาไม่อาจพิพากษาให้จําเลยชําระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 2 เมษายน 2545 อันเป็น วันที่รับไว้ได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคําฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 และ 247 

คําพิพากษาฎีกาที่ 12683/2557 

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจําเลยทั้งสองร่วมกันชําระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จ และขอให้บังคับจําเลยที่ 1 ชําระค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญา เมื่อโจทก์ฟ้องวันที่ 21 ตุลาคม 2551 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จําเลย ที่ 1 ชําระเงินแก่โจทก์โดยกำหนดดอกเบี้ยให้นับตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2542 กับที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จําเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาแก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคําฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง  

ปัญหาว่าศาลล่างพิพากษาให้เกินไปกว่าที่ปรากฏในคําฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง 

หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินศาลฎีกาพิพากษายกคำร้องขอ ต่อมาหากหุ้นส่วนจำกัดมายื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวอีกโดยเหตุผลเดิม ดังนี้ คำร้องขอในคดีหลังต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 7752/2561 

คดีก่อนที่ ช. ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองสืบเนื่องมาจากโรงงานน้ำมันพืชปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทเเละขณะนั้น ช. ยังเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผู้ร้อง(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ศาลฎีกาพิพากษายกคำร้องขอ คดีนี้แม้ผู้ร้องจะเป็นบุคคลคนละคนกับ ช. ซึ่งเป็นผู้ร้องขอในคดีก่อน  แต่โรงงานน้ำมันพืชที่ปลูกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทที่ผู้ร้องอ้างใช้สิทธิครอบครองปรปักษ์  เป็นโรงงานเดียวกันกับคดีก่อนที่ ช.ยื่นคำร้องขอและเป็นเหตุผลเดิม ถือได้ว่า ช. และผู้ร้องเป็นคู่ความเดียวกัน การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านทั้งสาม (เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท) อีก จึงเป็นการยื่นคำร้องขอในประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว  ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสามต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา145 ซึ่งต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148  

คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลย คดีหลังโจทก์ฟ้องผู้สืบสิทธิของจำเลย ทั้งสองคดีมีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีหนึ่งแล้ว ศาลในคดีหนึ่งจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปหรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 7799/2561 

โจทก์ฟ้อง ส. กับ ศ. เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1996/2557 โดยบรรยายว่า ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ (ที่ดินมือเปล่า) ขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย จำเลยทั้งสองในคดีดังกล่าวให้การว่า โจทก์ไม่ได้เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทจาก ฉ. และ ภ. และเข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดิน โดยจำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์เนื้อที่ 11 ไร่เศษ ต่อมา จำเลยที่ 2 ขายที่ดินส่วนดังกล่าวให้แก่ ช. (จำเลยในคดีนี้) และ ช. ครอบครองที่ดินมาโดยสงบเปิดเผยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเกิน 1 ปี ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และโจทก์ยื่นฟ้อง ศ. กับพวกในข้อหาฐานความผิดละเมิด ห้ามรบกวนการครอบครองทรัพย์สินเรียกค่าเสียหาย ต่อมา ศ. ขายสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยและจำเลยเข้าไปตัดไม้ยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกไว้ทั้ง 11 ไร่เศษ เป็นเงิน 200,000 บาท ขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องที่ดินและชดใช้ค่าเสียหายสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาทั้งสองสำนวน ต่างโต้แย้งเป็นประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้คดีแรกโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยคดีนี้ร่วมกับ ศ. และพวกเป็นจำเลยก็ตาม แต่ตามคำฟ้องของโจทก์คดีนี้ได้บรรยายยืนยันว่า ศ. ขายที่ดินส่วนที่ ศ. บุกรุกเข้าไปปให้จำเลยในคดีนี้อันเป็นปริยายว่าจำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทของโจทก์คนละคราวกับ ศ. แต่เป็นการเจข้าไปโดยอาศัยมูลเหตุจากการที่ ศ. ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยเป็นสำคัญ กรณีตามคำฟ้องจึงต้องถือว่าจำเลยผู้ผู้สืบสิทธิของ ศ. นั้นเอง ทั้งต้องถือว่าจำเลยในคดีนี้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วย ต่อมาเมื่อคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1996/2557 ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังข้อข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสองในคดีดังกล่าวเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ และพิพากษายกฟ้อง คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้ศาลดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำ ในประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอีก 

คดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1996/2557 หมายเลขแดงที่ 794/2557 ดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด หากในชั้นที่สุด ศาลฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ผลของคำพิพากษาในคดีย่อมผูกพันทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีดังกล่าว และจำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิของ ศ.จำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ทำให้คดีนี้ยังมีประเด็นต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยต้องห้ามมิให้เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทและต้องชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์เพีบงใด ดังนั้น การรอฟังผลคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1996/2557 หมายเลขแดงที่ 794/2557 ของศาลชั้นต้นจนกว่าคดีดังกล่าวจะถึงที่สุดเสียก่อนแล้วพิพากษาคดีต่อไป ย่อมทำให้ความยุติธรรมคดีนี้ดำเนินไปด้วยดี การที่ศาลชั้นต้นไม่หยิบยกปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำขึ้นวินิจฉัย โดยยังคงวินิจฉัยในประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและพิพากษาจึงไม่ชอบ 

คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกัน โดยต่างฟ้องร้องซึ่งกันและกัน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีหนึ่งแล้ว ศาลในอีกคดีหนึ่งจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้หรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 7830/2561 

ก่อนคดีนี้ ในคดีหมายเลขแดงที่ พ.1077/2556 โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ม. ผู้ตาย ฟ้อง ก. กับจำเลยว่า ก. นำที่ดิน ส.ป.ก. อันเป็นมรดกของผู้ตายไปขายให้แก่จำเลย และส่งมอบหลักฐาน ส.ป.ก. ให้จำเลยไว้ แต่ ก. รับเงินเป็นของตน โดยทำสัญญากู้ยืมเงินไว้ว่า ผู้ตายยืมเงินจำเลยโดยมีที่ดินพิพาทตาม ส.ป.ก. ดังกล่าวเป็นประกันหากไม่ชำระหนี้ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของจำเลยทันที ต่อมาจำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทขอให้ ก. คืนเงินแก่โจทก์ กับให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและส่งมอบ ส.ป.ก. คืนโจทก์ ก. และจำเลยให้การว่า ผู้ตายกู้ยืมเงินจำเลยเพื่อไปรักษาตัว โดยนำที่ดินพิพาทไปค้ำประกัน เมื่อผู้ตายไม่คืนเงิน จำเลยจึงเข้าครอบครองทำประโยชน์จำเลยมีสิทธิยึดเอกสาร ส.ป.ก. จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ คดีดังกล่าวจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า ผู้ตายกู้ยืมเงินจำเลยโดยมีการส่งมอบ ส.ป.ก. ไว้เป็นประกันการชำระหนี้หรือไม่ ในระหว่างการดำเนินกระบวนการพิจารณา จำเลยได้ฟ้องโจทก์ขอให้ชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นคดีหมายเลขแดงที่ พ.1787/2556 คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันกับคดีหมายเลขแดงที่ พ.1077/2556 ว่าผู้ตายกับจำเลยมีการทำสัญญากู้ยืมเงินกันหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นในคดีหมายเลขแดงที่ พ.1077/2556 พิจารณาแล้วมีคำพิพากษาก่อนที่คดีหมายเลขแดงที่ พ.1787/2556 จะมีคำพิพากษาว่า ผู้ตายทำสัญญากู้ยืมเงินกับจำเลยโดยมีการส่งมอบ ส.ป.ก. ไว้เป็นประกันการชำระหนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ตายชำระหนี้เงินกู้คืนแก่จำเลย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบ ส.ป.ก. คืนให้แก่โจทก์ได้ ดังนี้ คดีหมายเลขแดงที่ พ.1787/2556 จึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวต่อไป เพราะจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 การที่ศาลในคดีหมายเลขแดงที่ พ.1787/2556 ยังคงดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นดังกล่าวต่อไป จนในที่สุดศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวว่า ผู้ตายกับจำเลยมิได้มีการทำสัญญากู้ยืมเงินต่อกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้าม ป.วิ.พ. มาตรา 144 

เมื่อความปรากฏต่อมาว่าคดีหมายเลขแดงที่ พ.1077/2556 ของศาลชั้นต้นนั้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์โดยศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับศาลอุทธรณ์ภาค 5 ซึ่งพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีจึงถึงที่สุดว่า ผู้ตายทำสัญญากู้ยืมเงินจำเลยจริง เมื่อยังไม่มีการชำระหนี้เงินกู้คืนแก่จำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียก ส.ป.ก. คืนจากจำเลยได้ และผลของคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1077/2556 ดังกล่าวยังคงผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความอยู่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง กรณีต้องบังคับตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1077/2556 ดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นรวมทั้งข้อเท็จจริงที่ได้จากการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำได้ (พิพากษายกฟ้อง) 

คดีก่อนศาลวินิจฉัยแล้วว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อและคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาผู้เช่าซื้อเป็นโจทก์ฟ้องผู้ให้เช่าซื้อว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อนำความอันเป็นเท็จมาฟ้องผู้เช่าซื้อ อันเป็นการทำละเมิดต่อผู้เช่าซื้อและต้องชดใช้ค่าเสียหาย ดังนี้ เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 6189/256คดีก่อนที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยเรื่องผิดสัญญาเช่าซื้อมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ และต้องคืนรถยนต์คันที่เช่าซื้อพร้อมกับชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่เพียงใด ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่า จำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อนำความอันเป็นเท็จมาฟ้องโจทก์อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่เพียงใด แต่การวินิจฉัยว่าจำเลยนำความอันเป็นเท็จมาฟ้องโจทก์อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก็สืบเนื่องมาจากมูลฐานและข้ออ้างเดียวกันคือ โจทก์ผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ซึ่งในคดีก่อนศาลก็ได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่าซื้อและคดีถึงที่สุดแล้ว โดยในคดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์ส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนจำเลยแล้ว สัญญาเช่าซื้อจึงเป็นอันเลิกกัน แต่ต่อมามีผู้ปลอมหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไปไถ่ถอนรถยนต์คันที่เช่าซื้อออกมาใช้ ข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การคดีก่อนได้ ทั้งเหตุตามที่โจทก์กล่าวอ้างก็เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยจะฟ้องโจทก์เป็นคดีก่อนแล้ว แต่โจทก์หาได้ยกขึ้นต่อสู้ไม่ เมื่อแพ้คดีแล้วจึงกลับมาอ้างเหตุที่ตนมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคดีก่อนรื้อร้องฟ้องกันอีก ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ