คลังเก็บหมวดหมู่: วิอาญา ภาค 4

คดีอัตราโทษจําคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นมีคําสั่งจําหน่ายคดีเพราะสิทธินําคดีอาญามาฟ้องระงับ โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ สั่งให้ศาลชั้นต้นดําเนินกระบวนพิจารณาและมีคําพิพากษาต่อไปโดยไม่สั่งจําหน่ายคดี อันเป็นการ โต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของโจทก์ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่

คําพิพากษาฎีกาที่ 3162/2562 

โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา ๓๕๒ มีระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาคดีอาญา ในศาลแขวง พ.ศ. 2494 มาตรา 22 (หมายเหตุ เทียบ ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ) แต่กฎหมายบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์เฉพาะในส่วนของคําพิพากษาเท่านั้น การที่โจทก์ร่วม อุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งจําหน่ายคดีเพราะสิทธินําคดีอาญามาฟ้องระงับ แม้จะเป็นการ อุทธรณ์ดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังข้อเท็จจริงก็ตาม แต่คําสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวก็มิได้ ก้าวล่วงไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงในเนื้อหาแห่งคําฟ้องแต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมคงเป็นเรื่อง ที่โจทก์ร่วมขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 สั่งให้ศาลชั้นต้นดําเนินกระบวนพิจารณาและมีคําพิพากษา ต่อไปโดยไม่สั่งจําหน่ายคดีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมอุทธรณ์โต้แย้ง ดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการสั่งจําหน่ายคดีเพราะสิทธินําคดีอาญามาฟ้องระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) มิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงในเนื้อหาแห่งคําฟ้องที่จะต้องห้าม อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาคดีอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2494 มาตรา 22 

ผู้ต้องหายื่นคําร้องต่อศาลขอตรวจสํานวนและคัดถ่ายเอกสารคําร้องขอ ออกหมายจับ พร้อมทั้งเอกสารประกอบกับหมายจับ ศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้คัดถ่ายเฉพาะคําร้องขอ ออกหมายจับ คําสั่งและหมายจับ ส่วนเอกสารประกอบคําร้องอื่น ๆ เป็นเอกสารที่ใช้ในขั้นตอน การสอบสวน ไม่อนุญาต ดังนี้ ผู้ต้องหาจะอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้น ได้หรือไม่

คําพิพากษาฎีกาที่ 2863/2562 

ศาลชั้นต้นมีคําสั่งรับคําฟ้องไว้พิจารณาแล้ว ต่อมาผู้ต้องหาที่ 5 ยื่นคําร้องขอ คัดถ่ายเอกสารคําร้องขอออกหมายจับ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้คัดถ่ายคําร้องขอออกหมายจับ คําสั่งศาลและหมายจับเท่านั้น แต่ไม่อนุญาตให้คัดถ่ายเอกสารประกอบส่วนอื่นนั้น คําสั่งศาล ชั้นต้นดังกล่าวเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำไให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้น จนกว่าจะมีคําพิพากษาและมีอุทธรณ์คําพิพากษานั้นด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 

ศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้องและจําหน่ายคดีชั่วคราว และเมื่อคดี ที่จําเลยฟ้องโจทก์ถึงที่สุดให้โจทก์แถลงให้ศาลทราบเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป ดังนี้ โจทก์จะ อุทธรณ์คําสั่งศาลดังกล่าวในระหว่างการพิจารณา ได้หรือไม่

คําพิพากษาฎีกาที่ 3590 – 3592/2562 

คําสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนมูลฟ้อง และจําหน่ายคดีชั่วคราว เมื่อคดีที่จําเลย ฟ้องโจทก์ทั้งสามตามคดีอาญาของศาลชั้นต้นถึงที่สุดให้โจทก์แถลงให้ศาลทราบเพื่อยกคดีขึ้น พิจารณาต่อไปนั้น เป็นเพียงคําสั่งจําหน่ายคดีชั่วคราว ไม่ใช่คําสั่งจําหน่ายคดีเด็ดขาด คําสั่ง ดังกล่าวไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเสร็จไปแต่อย่างใด จึงเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้ คดีเสร็จสํานวน โจทก์ทั้งสามจึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวในระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่น แต่ให้ รอการกําหนดโทษและคุมความประพฤติไว้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จําเลยฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง ได้หรือไม่

คําพิพากษาฎีกาที่ 946/2562 

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 แต่ให้รอการกําหนดโทษและคุมความประพฤติไว้ จึงไม่เป็นการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 18 และต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษ จําคุกจําเลยเกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายืนจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและ ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182/1 ที่จําเลยฎีกา ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบมายังรับฟังไม่ได้ว่าจําเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหายนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว 

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 แต่เห็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว จึงพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดด้วย หากจำเลยที่ 2 เพียงแต่ยื่นคำแก้อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ ในชั้นอุทธรณ์จะมีประเด็นตามที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำแก้อุทธรณ์หรือไม่

ฎ.15310/2555 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 โดยผลแห่งคดีจำเลยที่ 2 จึงไม่จำต้องอุทธรณ์ แต่โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 มีสิทธิยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 แต่ที่พิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในประเด็นที่วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิคันค้านโดยกล่าวในคำแก้อุทธรณ์ได้ ประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงยังมีอยู่ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวด้วย 

ศาลชั้นต้นไม่ได้ระบุในคําพิพากษาว่าให้กักขังจําเลยแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเท่าใด โจทก์ไม่อุทธรณ์ในข้อนี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้กักขังจําเลยแทนค่าปรับได้เกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

คําพิพากษาฎีกาที่ 6564/2562  

ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจําเลยที่ 1 เป็นเงิน 275,000 บาท โดยมิได้กําหนดวิธีการไว้ว่า หากไม่ชําระค่าปรับจะให้ดําเนินการอย่างไร การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ปรับ 250,000 บาท โดยให้บังคับโทษปรับตาม ป.อ.มาตรา 29, 30 (ที่แก้ไขใหม่) นั้น ชอบแล้ว แต่การบังคับโทษปรับตั้งแต่ 60,000 บาท ขึ้นไป ตามมาตรา 30 วรรคแรก กําหนดให้ศาลสั่งกักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี ก็ได้ ซึ่งการให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเพียงใด ต้องระบุไว้ในคําพิพากษาให้ชัดเจน เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้ระบุไว้ในคําพิพากษาว่า ให้กักขังจําเลยที่ 1 แทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเท่าใด ดังนี้ ย่อมกักขังแทนค่าปรับได้เพียง 1 ปี เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ในข้อนี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้กักขังจําเลยที่ 1 แทนค่าปรับได้เกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี จึงเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจําเลยที่ 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอํานาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 1 

ทนายความโจทก์ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์โดยไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ทำแทนได้ (ในใบแต่งทนายความ) ยื่นต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์มา หากศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์ เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 4548/2562 

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาและกระบวนพิจารณาที่เป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความจึงต้องได้รับมอบอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง ทนายความจึงจะมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวแทนตัวความได้ ดังนั้น เมื่อตามใบแต่งทนายความฉบับลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 ที่โจทก์แต่งตั้งให้ ว. เป็นทนายความ ดำเนินคดีแทนโจทก์มิได้ระบุให้ ว. มีอำนาจยื่นอุทธรณ์แทนโจทก์ ว. จึงย่อมไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้แทนโจทก์ได้ การที่ ว. ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ทำแทนได้และยื่นต่อศาลชั้นต้นนั้น เป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่มีข้อบกพร่อง เท่ากับคำฟ้องอุทธรณ์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงต้องสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องเสียให้ถูกต้องก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 การที่ศาลชั้นตันสั่งรับอุทธรณ์มาโดยไม่สั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงชอบที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการแก้ไขข้อบกพร่อง โดยให้โจทก์ลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้องแล้วจึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เสียทีเดียวนั้น เป็นการไม่ถูกต้อง และไม่ชอบด้วยความยุติธรรม ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องของโจทก์ดังกล่าวได้ แต่อย่างไรก็ดี ตามใบแต่งทนายความฉบับลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 โจทก์ได้แต่งตั้ง ว. เป็นทนายความ ให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาแทนโจทก์ได้ในชั้นฎีกานี้แล้ว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในชั้นยื่นคำฟ้องอุทธรณ์แล้ว จึงไม่ต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก 

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทลงโทษและกำหนดโทษแต่ยังคงลงโทษจำคุกไม่เกินสองปี และมิได้เพิ่มเติมโทษจำเลย โจทก์หรือจำเลยจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ได้หรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 1638/2561  

ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 จำคุก 2 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 391 (เดิม) จำคุก 1 เดือน เป็นการแก้ไขทั้งบทและโทษเป็นการแก้ไขมาก แต่มิได้เพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 (คดีนี้จำเลยฎีกา)  

คำพิพากษาฎีกาที่ 4905/2561 

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี รวม 2กระทง เป็นจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกง จำคุกกระทงละ 1 ปี รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 2 ปี ต้องห้ามโจทก์มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 โจทก์ฎีกาโดยไม่ปรากฏว่ามีผู้อนุญาตให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์มา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย 

คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ หากข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ ดังนี้ ศาลจะวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ได้หรือไม่

คําพิพากษาฎีกาที่ 8113/2561  

โจทก์ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม จําเลยให้การต่อสู้ว่าทางพิพาทไม่มีการจดทะเบียนภาระจำยอม และไม่ได้มีการใช้ทางภาระจำยอมเกินสิบปี ทางภาระจำยอมจึงสิ้นสภาพไปตามกฎหมาย ดังนั้น ข้อเท็จจริงว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานนอกคําฟ้อง ข้อต่อสู้ คําให้การและนอกประเด็น ข้อพิพาทที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยประเด็นว่า ทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอํานาจหยิบยกวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ปรับจําเลยอีกสถานหนึ่งโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษได้หรือไม่

คําพิพากษาฎีกาที่ 115/2562  

ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจําเลย 3 ปี ลดโทษกึ่งหนึ่งคงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจําเลย 60,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ลดโทษกึ่งหนึ่ง คงปรับ 30,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 3 ปี และคุมความประพฤติจําเลย ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จะรอการลงโทษจำคุกแก่จําเลยอันเป็นการแก้ไขมากก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาลงโทษจำคุกจําเลยไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จําเลยนั้นเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกําหนดโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าว 

คําพิพากษาฎีกาที่ 250/2562 

ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจําเลย 1 เดือน โดยไม่รอการลงโทษศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจําเลย 5,000  บา อีกสถานหนึ่งแล้วรอการลงโทษจคุกแก่จําเลยไว้ มีกําหนด 1 ปี ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะพิพากษาให้รอการลงโทษจำคุกให้จําเลยอันเป็นการแก้ไขมากก็ตาม แต่เมื่อเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาลงโทษจำคุกจําเลยไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 การที่โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจคุกจําเลย เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการกําหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 8 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว 

คําพิพากษาฎีกาที่ 4491/2562 

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265,268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265, 335(11) วรรคแรก การกระทําของจําเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานลักทรัพย์นายจ้างซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 คุก 1 ปี จําเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจคุก 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จําเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265 (เดิม), 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 (เดิม), 335 (11) วรรคแรก (เดิม) ลงโทษปรับ 6,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ลดโทษกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงปรับ 3,000 บาท แล้วรอการลงโทษจคุกและคุมความประพฤติจําเลยไว้ อันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจําเลยไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 การที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จําเลยเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกําหนดโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว