คลังเก็บหมวดหมู่: พระธรรมนูญศาลฯ

ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาข้อหาความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจไต่สวนมูลฟ้องหรือไม่ และหากไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูล ผู้พิพากษาคนเดียวมีคำพิพากษายกฟ้องได้หรือไม่

คำพิพากษาฎีกที่ 5276/2562 

ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะพิจารณาและต่อมาได้มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 ซึ่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท จึงเกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียวที่จะพิพากษายกฟ้องไต้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) และมาตรา 26 แต่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจไต่สวนมูลฟ้องได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (3) ดังนั้น การไต่สวนมูลฟ้องโดยผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนคนเดียวในศาลขั้นตันจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่ศาลอุทรณ์ภาค 7 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ จึงเป็นเพียงการย้อนสำนวนมาให้ดำเนินกระบวนพิจารณาและทำคำพิพากษาใหม่ในส่วนที่ไม่ชอบตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 29 (3) เท่านั้น ศาลชั้นต้นหาจำต้องไต่สวนมูลฟ้องใหม่อีกแต่อย่างใดไม่ และเมื่อทนายโจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า โจทก์หมดพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง การไต่สวนมูลฟ้องย่อมเสร็จสิ้นลงโดยชอบแล้ว โจทก์จึงไม่อาจนำพยานเข้าไต่สวนเพิ่มเติมได้อีก ส่วนคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนกับผู้พิพากษาหัวหน้าศาลลงลายมือชื่อร่วมเป็นองค์คณะ เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 31 (1) ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลย่อมมีอำนาจตรวจสำนวนคดีและลงลายมือชื่อร่วมเป็นองค์คณะได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 29 (3) การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยผู้พิพากษาหัวหนัศาลตรวจสำนวนคดีและลงลายมือชื่อร่วมเป็นองค์คณะ จึงเป็นการพิจารณาและพิพากษาใหม่โดยมีผู้พิพากษาครบองค์คณะโดยชอบตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แล้ว 

คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดเนื่องจากยังมิได้มีศาลแขวงเปิดดำเนินการ การยื่นคำร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอคืนของกลาง ได้หรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 2345/2562 

ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า การกระทำในคดีเดิมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 มาตรา 16, 36 ทวิ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ อันเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง แต่เนื่องจากจังหวัดปราจีนบุรียังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 4 และพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 

2520 มาตรา 3 บัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับในศาลจังหวัดปราจีนบุรีด้วย ดังนั้น การยื่นคำร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ซึ่งเป็นสาขาของคดีเดิมที่ศาลมีคำพิพากษาให้ริบของกลาง องค์คณะผู้พิพากษาจะต้องถือตามคดีเดิม เมื่อคดีเดิมศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัดยังคงพิพากษาลงโทษจำคุก 3 เดือนและปรับ 10,000 บาท จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียว 

ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 25(5) ศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษาคนเดียวจึงมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอคืนของกลางอันเป็นคดีสาขาของคดีดังกล่าวได้