คลังเก็บหมวดหมู่: พยานหลักฐาน

การนําสืบว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือสูญหายไปนั้น จะนําพยานบุคคลมาสืบได้หรือไม่ และการนําพยานบุคคลมาสืบว่า มีการกู้ยืมกันตามหลักฐานแห่งการกู้ยืม ที่สูญหายไป ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนหรือไม่

คําพิพากษาฎีกาที่ 1282/2562 

ร. เข้าเบิกความเป็นพยานโดยโจทก์ไม่ได้ระบุในบัญชีระบุพยานก่อน ร. เบิกความไป ตามเอกสารเท่านั้น และนับแต่พยานเข้าเบิกความจนถึงวันที่ศาลล่างมีคําพิพากษา มีเวลา 15 วัน จําเลยก็ไม่ได้คัดค้าน เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจําเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญ ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีศาลจึงสามารถรับฟังพยานปากนี้ได้ ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 

การนําสืบว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือสูญหายไปนั้น โจทก์ย่อมนําพยานบุคคล มาสืบได้ เพราะเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงและการ นําพยานบุคคลสืบว่าจําเลยกู้เงินโจทก์ตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สูญหายไปต้องได้รับอนุญาต จากศาลก่อน เมื่อศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นําพยานบุคคลเข้าสืบได้ตลอดทั้งเรื่อง ถือว่าศาลชั้นต้น ได้อนุญาตโดยปริยายแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551มาตรา 7 

คู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงร่วมกันว่าเหตุการณ์เป็นไปตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จะรับฟังภาพถ่ายแนบท้ายแถลงการณ์ปิดคดีของโจทก์ซึ่งมิใช่เอกสารท้ายคําฟ้องมาใช้ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริง ได้หรือไม่

คําพิพากษาฎีกาที่ 7907/2561 

คู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงรับข้อเท็จจริงร่วมกันแล้วว่าเหตุการณ์เป็นไปตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นภัยน้ำท่วมตามเอกสารแนบท้ายตารางกรมธรรม์ประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สินหรือไม่ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า เกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักต่อเนื่องหลายวันติดต่อกัน ทำให้น้ำที่ไหลจากบนหลังคาอาคารและน้ำจากเชิงเขา ไหลทะลักเข้ามาภายในอาคารทางด้านหลังของอาคาร ประกอบกับขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน ประตูด้านหน้าอาคารปิดทำให้น้ำไม่สามารถไหลออกจากอาคารได้ เกิดน้ำขังภายในอาคารโชว์รูม การที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคจะวินิจฉัยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าอยู่ในความหมาย ของคําว่าน้ำท่วมตามเอกสารแนบท้ายตารางกรมธรรม์ประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สินหรือไม่ ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคจะต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ปรากฏในคําฟ้องโจทก์ อันเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความทั้งสองฝ่ายรับกันแล้วในศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ แผนกคดีผู้บริโภครับฟังภาพถ่ายโชว์รูมของโจทก์แนบท้ายแถลงการณ์ปิดคดีของโจทก์ แล้ววินิจฉัยว่าตามภาพถ่ายเห็นได้ชัดเจนว่าพื้นที่ด้านหลังโชว์รูมเป็นป่าเขา ข้อเท็จจริงจึงเพียงพอรับฟังได้ว่ามีน้ำป่าไหลล้นเข้าท่วมพื้นที่เกิดเหตุนั้น เมื่อภาพถ่ายดังกล่าวเป็นเอกสารแนบท้ายแถลงการณ์ปิดคดีมิใช่เอกสารท้ายคําฟ้องอันจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคําฟ้อง การที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภครับฟังภาพถ่ายดังกล่าวแล้ววินิจฉัยว่ามีน้ำป่า ไหลล้นเข้าท่วมพื้นที่เกิดเหตุจึงเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงอื่นนอกเหนือจากที่โจทก์และจําเลยแถลงรับกัน อันถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 

จําเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และจําเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทไปจากโจทก์ จําเลยจะยกข้อเท็จจริงที่จําเลยนําสืบว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจําเลย โดยบิดาจําเลยยกให้และจําเลยครอบครองทำประโยชน์มาโดยตลอดในชั้นอุทธรณ์ได้หรือไม่

คําพิพากษาฎีกาที่ 906/2561 

จําเลยนําสืบยืนยันว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจําเลยโดยบิดาจําเลยยกให้ จําเลยครอบครองทำประโยชน์และปลูกบ้านอยู่อาศัยมาโดยตลอดอันเป็นการนําสืบยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของจําเลยไม่ใช่เป็นของโจทก์และจําเลยไม่ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทไปจากโจทก์ ซึ่งต่างไปจากที่จําเลยอ้างต่อสู้ในคำให้การและแก้ไขให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และจําเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทไปจากโจทก์จนได้สิทธิครอบครอง เมื่อข้อเท็จจริงที่จําเลยนําสืบดังกล่าวเป็นการนอกประเด็นและนอกเหนือจากคำให้การ ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1) อุทธรณ์ของจําเลยที่ขอให้ยกฟ้องโจทก์ เป็นการยกข้อเท็จจริงที่จําเลยนําสืบมาซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟังตามมาตรา 87 (1) ขึ้นกล่าวอ้างซึ่งเป็นคนละเหตุกับที่จําเลยอ้างต่อสู้ไว้ในคำให้การ อุทธรณ์ของจําเลยเป็นการอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง 

เอกสารที่อ้างส่งในชั้นไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ จะต้องระบุไว้ในบัญชีระบุพยาน และส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88, 90 หรือไม่

ฎ.4276/2532 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88, 90 การยื่นบัญชีระบุพยานและการส่งสำเนาเอกสารนั้นใช้บังคับเฉพาะการสืบพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงในประเด็นแห่งคดีที่พิพาทไม่ใช้บังคับในการไต่สวนคำร้องที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพากทในคดี 

ก่อนฟ้องคดีโจทก์รู้ว่าจำเลยอยู่บ้านเลขที่ 1274/27 ดังนั้นเมื่อส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่บ้านเลขที่ 1274/115 อันเป็นสำนักทำการงานของจำเลยไม่ได้ โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้จำเลย ณ บ้านเลขที่ 1274/27 อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยการที่ศาลอนุญาตให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบคำฟ้องและวันนัดสืบพยาน กรณีมีเหตุที่จะให้พิจารณาใหม่ 

คดีแพ่งสามัญ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าตามสัญญาซื้อขายซึ่งโจทก์จำเลยได้ตกลงกำหนดราคาสินค้ากันไว้แล้ว มีข้อตกลงชำระค่าสินค้าเป็นงวด แต่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าบางส่วน จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลให้โจทก์ส่งพยานเอกสารโดยมิได้ให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาสืบ ดังนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชอบหรือไม่

คำพิพากษาฎีกที่ 3514/2550 

จำเลยฎีกาประการแรกว่า คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน โจทก์ส่งพยานเอกสารโดยมิได้นำพยานหลักฐานมาสืบ จึงถือว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูล ศาลชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียนั้น 

เห็นว่า ตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าตามสัญญาซื้อขายซึ่งโจทก์จำเลยได้ตกลงกำหนดราคาสินค้ากันไว้แล้วเป็นเงินจำนวน 1,320,930 บาท ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าจำนวน 971,497.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดคำนวณถึงวันฟ้องรวมเป็นเงิน 1,033,836.87 บาท จึงเป็นกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ดังนั้น แม้การซื้อขายดังกล่าวจะมีข้อตกลงชำระค่าสินค้าเป็นงวดและโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่สินค้าไม่ครบจำนวนตามสัญญาเนื่องจากจำเลยชำระค่าสินค้าบางส่วนแก่โจทก์และโจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าสินค้าก็ไม่เป็นเหตุให้คดีของโจทก์กลับกลายเป็นคดีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน การที่โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลชอบที่จะรับฟังพยานเอกสารของโจทก์ดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ 

หนังสือสัญญาขายที่ดินระบุว่า ผู้ขายยอมขายที่ดินโฉนดเลขที่พร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่ผู้ซื้อและได้รับเงินค่าที่ดินครบถ้วนแล้ว ผู้ขายจะนําพยานบุคคลมาสืบว่าความจริงตกลงขายที่ดินแก่ผู้ซื้อเพียงครึ่งเดียว สัญญาขายที่ดินทั้งแปลงเป็นนิติกรรมอําพรางสัญญาขายที่ดินเฉพาะส่วนตามที่ให้การต่อสู้ไว้ได้หรือไม่

คําพิพากษาฎีกาที่ 1997/2562 

 จําเลยให้การว่า จําเลยตกลงขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์เพียงครึ่งเดียว โดยแบ่งตามแนวร่องน้ำกลางสวน จําเลยขายที่ดินฝั่งร่องน้ำด้านทิศตะวันออกแก่โจทก์ ส่วนที่ดินฝังร่องน้ำด้านทิศตะวันตกยังเป็นของจําเลย มีข้อตกลงให้จําเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งแปลงให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นําไปเป็นหลักประกันเงินกู้กับธนาคารนําเงินมาชําระราคาที่ดินให้แก่จําเลย โดยชําระหนี้แก่ธนาคารแทนจําเลย เมื่อโจทก์ชําระหนี้ธนาคารและไถ่ถอนจํานองแล้ว โจทก์จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของจําเลยให้แก่จําเลย หลังจากโอนจําเลยมอบที่ดินฝั่งร่องน้ำด้านทิศตะวันออกให้แก่โจทก์เข้าครอบครองและทําประโยชน์แล้ว ส่วนจําเลยยังคงครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินฝั่งร่องน้ำด้านทิศตะวันตกตลอดมา โจทก์และจําเลยเป็นญาติกันจึงไว้วางใจ แต่โจทก์กลับกล่าวอ้างว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งแปลงแล้วนําสัญญาขายที่ดินทั้งแปลงซึ่งเป็นนิติกรรมอําพรางสัญญาขายที่ดินเฉพาะส่วนมาเป็นมูลเหตุฟ้องขับไล่จําเลยนั้น เป็นคําให้การในทํานองว่าสัญญาขายที่ดินพิพาทในส่วนที่ดินด้านทิศตะวันตกของลํารางพร้อมบ้านเลขที่ 118 นั้น ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น จําเลยผู้ขายย่อมนําพยานบุคคลมาสืบได้ว่าความจริงเป็นการทําสัญญาขายที่ดินเฉพาะส่วนด้านทิศตะวันออกแก่โจทก์ ไม่เป็นการนําสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารอันต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข) 

จําเลยให้การชั้นสอบสวนครั้งแรกรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา จําเลยไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทย มีการจัดหาล่ามให้ แต่ไม่ปรากฏว่าล่ามสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะทําหน้าที่โดยสุจริต ดังนี้ ถ้อยคํารับสารภาพจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจําเลยได้หรือไม่

คําพิพากษาฎีกาที่ 648/2562 

จําเลยไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทย แม้พนักงานสอบสวนจัดให้เจ้าพนักงานตํารวจท่องเที่ยวและ พ. เป็นล่ามแปลคําให้การชั้นสอบสวนให้จําเลยฟัง แต่ไม่ปรากฏว่าล่ามสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะทําหน้าที่โดยสุจริตใจ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 13 วรรคสี่ ถ้อยคํารับสารภาพดังกล่าวของจําเลยจึงไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจําเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/4 

โจทก์กล่าวอ้างว่าที่ดินและหุ้นซึ่งมีชื่อบุคคลอื่นอันเป็นเจ้าของทางทะเบียนนั้นเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการทำมาหาได้ร่วมกันก็ดี เป็นสินสมรสก็ดี ภาระการพิสูจน์ถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันหรือเป็นสินสมรสตกแก่คู่ความฝ่ายใด

คำพิพากษาฎีกาที่ 252/2562  

การแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยาของ จ. กับ อ.เป็นการอยู่กินกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส อ. จึงมิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ จ. ต่อมาภายหลังได้แยกกันอยู่โดยการใช้ชีวิตประจำวันของ อ. อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ส่วน จ. 

ประกอบธุรกิจและพักอาศัยอยู่ที่กรุงเทพมหานคร การที่โจทก์อ้างว่าที่ดินและหุ้นพิพาทของ จ. เป็นทรัพย์สินที่ อ. ทำมาหาได้ร่วมกันกับ จ. โดยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างสามีภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ต้องได้ความว่า สามีภริยาต่างมีส่วนร่วมกันในการทำมาหาได้ในทรัพย์สินนั้นด้วยกัน หาใช่ว่าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างเป็นสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ถือว่าสามีภริยาต่างมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นคนละครึ่งหนึ่ง ซึ่งแตกต่างไปจากเรื่องของสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะกฎหมายบัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่องทรัพย์สินอันสามีภริยาได้มาระหว่างสมรสว่าเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ในประเด็นนี้ให้เห็นการมีส่วนร่วมในการทำมาหาได้ของ อ. ด้วย  

กองบัญชาการตำรวจสันติบาลซึ่งได้รับมอบหมายจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีหนังสือตอบให้ศาลทราบว่า ทำการตรวจสอบค้นหาเอกสารการขอแปลงสัญชาติเป็นไทยของ จ. แล้วปรากฏว่าไม่พบเอกสารดังกล่าวแต่อย่างใด และไม่มีหลักฐานว่าอยู่ที่ใด เนื่องจากเอกสารดังกล่าวมีอายุกว่า 40 ปี ซึ่งในห้วงเวลานั้นมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและย้ายที่ทำการหลายครั้ง เชื่อว่าอาจชำรุดหรือสูญหายในระหว่างขนย้าย กรณีดังกล่าวจึงเข้าหลักเกณฑ์ของ ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารได้  

ทรัพย์พิพาทในส่วนที่เป็นที่ดินมีชื่อ จ. เป็นเจ้าของโฉนดที่ดินจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1373 ประกอบกับการที่ จ. มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินอันเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 จำเลยจึงได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากข้อสันนิษฐานที่เป็นคุณว่า จ. เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์รวมทั้งในส่วนที่เป็นหุ้นพิพาทก็มีชื่อ จ. เป็นเจ้าของหุ้นตามทะเบียนหุ้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าหุ้นพิพาทเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการทำมาหาได้ร่วมกันระหว่าง จ. กับ อ. ส่วนจำเลยให้การปฏิเสธภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์เช่นกัน 

คำพิพากษาฎีกาที่ 2851/2561 

ผู้ร้องสอดเป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำร้องของตนว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องสอด จำเลยให้การปฏิเสธว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ผู้ร้องสอดจึงมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริง 

นั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 และโฉนดที่ดินพิพาทเป็นเอกสารมหาชนมีชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของ ป.วิ.พ. มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร ผู้ร้องสอดจึงต้องนำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อให้เป็นไปตามภาระการพิสูจน์ 

และต้องหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวด้วย  

เหตุที่ผู้ตายมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินเพียงผู้เดียว เนื่องจากผู้ตายได้รับการยกให้ที่ดินพิพาทจากบิดามารดา ผู้ตายครอบครองทำประโยชน์มากกว่า 40 ปี ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ผู้ตายอยู่กินและจดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องสอด ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ตอนสมรส เป็นสินส่วนตัวของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) แม้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ตายหลังจากผู้ตายจดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องสอดแล้ว ก็ไม่มีผลทำให้ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายกลับกลายเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายได้มาในระหว่างสมรสอันจะเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) เมื่อที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ผู้ตายจึงมีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยได้ 

คำพิพากษาฎีกาที่ 1036/2561 

สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทลงลายมือชื่อและประทับตราสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับรอง หรือสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารนั้น ป.วิ.แพ่งมาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร ทั้งให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ในนั้นทุกประการ ตามป.พ.พ.มาตรา 1024 เมื่อสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นระบุว่าจำเลยที่ 3 ถือหุ้น 2,250 หุ้นตามจำนวนที่โจทก์อ้างว่าซื้อจากจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่เป็นจริงหรือไม่มีอยู่หรือความจริงเป็นเช่นใด ซึ่งเป็นการนำสืบถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าจำเลยที่ 3 ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 เพียง 250 หุ้น มิใช่ 2,250 หุ้น ตามที่ปรากฎในสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นนั้น 

พินัยกรรมระบุรายการทรัพย์สินแต่เพียงบ้าน โดยไม่ระบุถึงที่ดินที่บ้านตั้งอยู่ ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธินำพยานมาสืบถึงความประสงค์ของผู้ตายว่า มีเจตนายกบ้านพร้อมที่ดินให้แก่ผู้รับพินัยกรรมด้วยหรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 2850/2561 

ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่จำเลยโดยระบุรายการทรัพย์สินแต่เพียงบ้าน รถยนต์ และเงินฝาก โดยไม่ระบุถึงที่ดินที่บ้านตั้งอยู่ บ้านจะหมายความรวมถึงที่ดินพิพาทที่บ้านตั้งอยู่ด้วยหรือไม่ เป็นกรณีที่ความข้อใดข้อหนึ่งในพินัยกรรมอาจตีความได้เป็นหลายนัย ให้ถือเอาตามนัยที่จะสำเร็จผลตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมนั้นได้ดีที่สุด ตามป.พ.พ.มาตรา 1684 จำเลยย่อมมีสิทธินำพยานมาสืบถึงความประสงค์ของผู้ตายได้ ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ซึ่งต้องห้ามตามป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 

การนำสืบว่า ผู้ประกอบธุรกิจมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามผู้บริโภคที่ผิดนัดชำระหนี้ ก่อนดำเนินการบังคับชำระหนี้ตามกฎหมายตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยจะนำสืบด้วยพยานบุคคลโดยไม่นำหนังสือทวงถามมาแสดงต่อศาลได้หรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 4573/2561  

ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยกำหนดว่า ในการเรียกให้ชำระหนี้และติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีหนังสือแจ้งเตือนผู้บริโภคที่ผิดนัดชำระหนี้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 20 วัน ก่อนดำเนินการบังคับชำระหนี้ตามกฎหมาย ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้ผู้ประกอบธุรกิจใช้ปฏิบัติตาม ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริง ไม่ใช่บทบัญญัติของกฎหมายที่ ป.วิ.พ.มาตรา 94 บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โดยห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลมาสืบแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดงเมื่อโจทก์นำสืบโดยมี ย. ผู้มอบอำนาจช่วงจากโจทก์เบิกความว่า จำเลยเป็นหนี้บัตรเครดิตและหนี้สินเชื่อพร้อมใช้ตามสำเนาใบแจ้งยอดบัญชี โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยชอบ และครบกำหนดจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงฟ้องจำเลย แม้โจทก์มิได้นำหนังสือทวงถามมาแสดงต่อศาล ก็รับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสารได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 94 (ก) หรือไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551