
คําพิพากษาฎีกาที่ 5244 – 5245/2562
โจทก์ยื่นคําฟ้องโดยเข้าใจว่าทางพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 7665 ของจําเลย แต่เพียงแปลงเดียว แต่เมื่อโจทก์จําเลยแถลงหมดพยานแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดปัตตานี ทำแผนที่พิพาท ปรากฏว่านอกจากทางพิพาทซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในที่ดิน จําเลยโฉนดเลขที่ 7665 แล้ว ยังมีทางพิพาทบางส่วนอยู่ในที่ดินของจําเลยโฉนดเลขที่ 7666 และโฉนดเลขที่ 7667 ด้วย โจทก์จึงยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องว่าทางพิพาทบางส่วนอยู่ในที่ดินของจําเลยโฉนดเลขที่ 7666 และ 7667 ด้วยเพื่อให้ตรงกับความเป็นจริง และหลังจากนั้นศาลชั้นต้นยังได้สืบพยานเจ้าพนักงานที่ดินผู้ทําแผนที่พิพาท อีกปากหนึ่ง ดังนี้เห็นได้ว่า โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าทางพิพาทบางส่วนอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 7666 และโฉนดเลขที่ 7667 ด้วย จึงเป็นกรณีที่มีเหตุสมควรที่โจทก์ไม่อาจยื่นคําร้อง ได้ก่อนนั้น เมื่อมีการขอแก้คําฟ้องในระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา โจทก์จึงขอแก้ไขคําฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
ผู้ร้องยื่นคําร้องว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 7670, และโฉนดเลขที่ 7671 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 7669 ไปทางทิศตะวันออก โดยผู้ร้องซื้อที่ดินดังกล่าว มาจาก ส. และ ส. ได้ใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินจําเลยในโฉนดเลขที่ 7665 ออกสู่ถนน สาธารณะสายปากน้ำเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนา เป็นเจ้าของทางมาตั้งแต่ปี 2518 จนกระทั่ง ส. ขายให้ผู้ร้อง และเมื่อผู้ร้องซื้อที่ดินดังกล่าวมาแล้วก็ได้ใช้ทางพิพาทสืบสิทธิจากเจ้าของเดิมเรื่อยมาโดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของทางเช่นกัน โดยทางพิพาทเป็นเส้นทางเดียวกับเส้นทางที่โจทก์ใช้ผ่านที่ดินจําเลย ทั้งทางพิพาทต้นทางส่วนที่ติดกับถนนสายปากน้ำถึงที่ดินผู้ร้อง ทับซ้อนกับทางพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้ภาระจำยอมโดยอายุความอยู่ด้วย ดังนี้ ตามคําร้องของผู้ร้องดังกล่าวแปลได้ว่าผู้ร้องสมัครใจเข้ามาในคดีเพราะเห็นว่าเป็นความจําเป็นเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่เช่นเดียวกับโจทก์ และเกี่ยวเนื่องด้วยกับการบังคับคดีตามคําพิพากษา ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีได้
คดีนี้จําเลยได้นําพยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างข้ออ้างของผู้ร้องได้อย่างเต็มที่ ไม่ได้ทำให้ฝ่ายจําเลยเสียเปรียบแต่อย่างใด ส่วนทางพิพาทที่ผู้ร้องใช้ทับซ้อนกับทางพิพาทที่โจทก์ ใช้นั้นหากในอนาคตผู้ร้องไม่ได้เข้ามาในคดีอาจจะมีข้อพิพาทกับโจทก์ในการใช้ทางพิพาทได้ ผู้ร้องมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีได้