คลังเก็บป้ายกำกับ: ป.วิแพ่งภาค1

การยื่นคําร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอ้างว่าการส่ง หมายนัดฟังคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเกิดขึ้นหลังศาลมีคําพิพากษาแล้ว ต้องยื่นไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น หรือไม่

คําพิพากษาฎีกที่ 3391/2562 

ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เมื่อมีการดําเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลมีอํานาจยกขึ้นพิจารณาได้เอง หรือคู่ความฝ่ายที่เสียหายมีอํานาจยื่นคําร้องขอให้เพิกถอน เสียได้ ส่วนระยะเวลาในการยื่นคําร้องนั้นบทบัญญัติดังกล่าววรรคสอง กําหนดให้คู่ความฝ่ายที่ เสียหายต้องยื่นไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้าง นั้น แต่ทั้งนี้คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดําเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ๆ ซึ่งระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดไว้นี้ใช้บังคับแก่การยื่นคําร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทุกกรณี ไม่ว่าจะอยู่ในระหว่าง พิจารณาหรือหลังจากศาลมีคําพิพากษาแล้ว ไม่ใช่ว่าใช้บังคับเฉพาะกรณีขอให้เพิกถอน กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบก่อนมีคําพิพากษา 

โจทก์ทราบผลคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 เมื่อเจ้าพนักงานเดินหมายส่งคําบังคับ ให้โจทก์ทราบ แสดงว่าโจทก์ทราบแล้วว่าศาลชั้นต้นอ่านคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 แล้ว (พิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนจําเลย) จึงมีการออก คําบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 โจทก์ชอบที่จะตรวจสอบและทราบ ข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างที่ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตามคําร้องได้นับแต่นั้น และโจทก์นําเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่งตาม คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 มาวางศาล ถือได้ว่าโจทก์ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็น มูลแห่งข้ออ้างในเรื่องผิดระเบียบตั้งแต่โจทก์ได้รับคําบังคับหรืออย่างช้าภายในวันที่โจทก์นําเงิน มาวางศาล แต่โจทก์ยื่นคําร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ล่วงเลยเวลาที่ กฎหมายกําหนดโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะยื่นคําร้องได้ คําร้องของโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนกระบวน พิจารณาที่ผิดระเบียบจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง 

โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จําเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ภายหลังจากโจทก์จําเลยแถลงหมดพยานแล้ว ศาลสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาท ปรากฏว่าทางพิพาทบางส่วนอยู่ในที่ดินโฉนดอื่นของจําเลยด้วย ดังนี้ โจทก์จะขอแก้ไขคําฟ้อง ว่าทางพิพาทบางส่วนอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่นอกจากที่ระบุในคําฟ้องเดิมได้หรือไม่ และบุคคลภายนอกที่ใช้ทางพิพาทเป็นเส้นทางเดียวกับที่โจทก์ใช้ผ่านที่ดินจําเลยจะร้องสอดเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้หรือไม่

คําพิพากษาฎีกาที่ 5244 – 5245/2562 

โจทก์ยื่นคําฟ้องโดยเข้าใจว่าทางพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 7665 ของจําเลย แต่เพียงแปลงเดียว แต่เมื่อโจทก์จําเลยแถลงหมดพยานแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดปัตตานี ทำแผนที่พิพาท ปรากฏว่านอกจากทางพิพาทซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในที่ดิน จําเลยโฉนดเลขที่ 7665 แล้ว ยังมีทางพิพาทบางส่วนอยู่ในที่ดินของจําเลยโฉนดเลขที่ 7666 และโฉนดเลขที่ 7667 ด้วย โจทก์จึงยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคําฟ้องว่าทางพิพาทบางส่วนอยู่ในที่ดินของจําเลยโฉนดเลขที่ 7666 และ 7667 ด้วยเพื่อให้ตรงกับความเป็นจริง และหลังจากนั้นศาลชั้นต้นยังได้สืบพยานเจ้าพนักงานที่ดินผู้ทําแผนที่พิพาท อีกปากหนึ่ง ดังนี้เห็นได้ว่า โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าทางพิพาทบางส่วนอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 7666 และโฉนดเลขที่ 7667 ด้วย จึงเป็นกรณีที่มีเหตุสมควรที่โจทก์ไม่อาจยื่นคําร้อง ได้ก่อนนั้น เมื่อมีการขอแก้คําฟ้องในระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา โจทก์จึงขอแก้ไขคําฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 

ผู้ร้องยื่นคําร้องว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 7670, และโฉนดเลขที่ 7671 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 7669  ไปทางทิศตะวันออก โดยผู้ร้องซื้อที่ดินดังกล่าว มาจาก ส. และ ส. ได้ใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินจําเลยในโฉนดเลขที่ 7665 ออกสู่ถนน สาธารณะสายปากน้ำเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนา เป็นเจ้าของทางมาตั้งแต่ปี 2518 จนกระทั่ง ส. ขายให้ผู้ร้อง และเมื่อผู้ร้องซื้อที่ดินดังกล่าวมาแล้วก็ได้ใช้ทางพิพาทสืบสิทธิจากเจ้าของเดิมเรื่อยมาโดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของทางเช่นกัน โดยทางพิพาทเป็นเส้นทางเดียวกับเส้นทางที่โจทก์ใช้ผ่านที่ดินจําเลย ทั้งทางพิพาทต้นทางส่วนที่ติดกับถนนสายปากน้ำถึงที่ดินผู้ร้อง ทับซ้อนกับทางพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้ภาระจำยอมโดยอายุความอยู่ด้วย ดังนี้ ตามคําร้องของผู้ร้องดังกล่าวแปลได้ว่าผู้ร้องสมัครใจเข้ามาในคดีเพราะเห็นว่าเป็นความจําเป็นเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่เช่นเดียวกับโจทก์ และเกี่ยวเนื่องด้วยกับการบังคับคดีตามคําพิพากษา ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีได้ 

คดีนี้จําเลยได้นําพยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างข้ออ้างของผู้ร้องได้อย่างเต็มที่ ไม่ได้ทำให้ฝ่ายจําเลยเสียเปรียบแต่อย่างใด ส่วนทางพิพาทที่ผู้ร้องใช้ทับซ้อนกับทางพิพาทที่โจทก์ ใช้นั้นหากในอนาคตผู้ร้องไม่ได้เข้ามาในคดีอาจจะมีข้อพิพาทกับโจทก์ในการใช้ทางพิพาทได้ ผู้ร้องมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีได้ 

หลังจากโจทก์สืบพยานไปแล้วบางส่วน จำเลยขอแก้ไขคำให้การ จากเดิมที่ปฏิเสธว่า ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ เป็นรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้จริง แต่ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว ดังนี้ เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยมีสิทธิขอแก้ไขคำให้การเมื่อล่วงเลยกำหนดระยะเวลาขอแก้ไขแล้ว หรือไม่

คำพิพากษาฎีกที่ 6145/2550 

หลังจากโจทก์ได้สืบพยานไปบางส่วนแล้ว จำเลยที่ 6 และที่ 7 ขอแก้ไขคำให้การเดิที่ให้การปฏิเสธว่า จำเลยที่ 6 และที่ 7 ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นว่า จำเลยที่ 6 และที่ 7 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับโจทก์จริง แต่ต่อมาได้ลาออกจากการเป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 ขณะนั้นจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เพียงเก้าแสนบาทเศษ โจทก์ไม่ฟ้องให้จำเลยที่ 6 และที่ 7 รับผิดภายในอายุความตามกฎหมาย ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง 

เห็นว่า ข้อความที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 ขอแก้ไขเป็นการสละข้อต่อสู้เดิมที่ปฏิเสธว่าไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันแล้วยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ ยอมรับว่าทำสัญญาค้ำประกันแต่ไม่ต้องรับผิดเนื่องจากคดีขาดอายุความ เช่นนี้ข้อความที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 ขอแก้ไขเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 ทราบอยู่แล้ว จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เนื่องจากคดีนี้ไม่มีการสองสถานและกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ทั้งข้อความที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 ขอแก้ไขว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความนั้นไม่ใช่เป็นปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้อง ดังที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 อ้างมาในคำร้องขอแก้ไขดำให้การ จึงหาใช่เป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชชนดังนั้นที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังที่ใจทก์ได้สืบพยานไปบางส่วนแล้วเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 

เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินกับจำเลยซึ่งตกเป็นภาระจำยอม หากการบังคับคดีมีปัญหาอันเนื่องจากโจทก์และจำเลยแปลความคำพิพากษาแตกต่างกันจะร้องสอดเข้าเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีได้หรือไม่

คำพิพากษาฎีกที่ 3726/2553 

ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกของผู้ร้องว่า ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านในคดีนี้หรือไม่ ผู้ร้องฎีกาว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโฉนดที่ 33998 เป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการบังคับคดีและคำสั่งของศาลชั้นต้น ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีนี้ 

เห็นว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินซึ่งตเป็นภาระจำยอมและถูกบังคับคดีในคดีนี้ เมื่อการบังคับคดีมีปัญหาอันเนื่องจากโจทก์และจำเลยแปลความคำพิพากษาแตกต่างกันจำเลยและผู้ร้องเห็นว่าการบังคับคดีไม่ถูกต้องตามคำพิพากษา ทำให้จำเลยและผู้ร้องเสียหายผู้ร้องย่อมใช้สิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) 

คดีเดิม โจทก์ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายอ้างว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ เนื่องจากจำเลยใช้อุบายหลอกลวงเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายอ้างว่าสัญญาเช่าครบกำหนดระยะเวลาแล้ว ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเช่าที่ค้างชำระ ดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่

คำพิพากษาฎีกที่ 7695/2550 

คดีเดิมซึ่งเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 885/2544 ของศาลชั้นต้น มีพันเอก ม.เป็นโจทก์ที่ 1 โจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ที่ 2  และจำเลยคดีนี้เป็นจำเลย โจทก์ทั้งสองดังกล่าวฟ้องว่าจำเลยใช้กลอุบายหลอกลวงโจทก์เพื่อให้ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาท จนเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญของทรัพย์สินที่ให้เช่า สัญญาเช่าดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ขอให้พิพากษาว่า สัญญาเช่าเป็นโมฆะ และขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทรวมทั้งทำที่ดินพิพาทให้มีสภาพเหมือนเดิมและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน คดีอยู่ระหว่งการพิจารณาองศาลฎีก สำหรับคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์กับพันเอก ม. บิดาโจทก์ มีกำหนดระยะเวลา 20 ปี แต่มิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาเช่าดังกล่าวจึงมีผลผูกพันเพียง 3 ปี บัดนี้ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่พิพาทอีกต่อไป ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย 

เห็นว่า คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายอ้างว่าสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ เนื่องจากจำเลยใช้อุบายหลอกลวงเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีเดิม คือ จำเลยได้กระทำกลฉ้อฉลโจทกเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมหรือไม่ แต่ในคดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าบัดนี้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี จึงสิ้นผลผูกพันแล้ว สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นเรื่องที่สัญญาเช่าที่พิพาทมีผลบังคับเพียงใด และสิ้นผลผูกพันแล้วหรือไม่ ข้ออ้างหรือประเด็นพิพาทที่ศาลต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ฟ้องโจทกคดีนี้จึงไม่เป็นกรดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ 

คดีแพ่งสามัญ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าตามสัญญาซื้อขายซึ่งโจทก์จำเลยได้ตกลงกำหนดราคาสินค้ากันไว้แล้ว มีข้อตกลงชำระค่าสินค้าเป็นงวด แต่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าบางส่วน จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลให้โจทก์ส่งพยานเอกสารโดยมิได้ให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาสืบ ดังนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชอบหรือไม่

คำพิพากษาฎีกที่ 3514/2550 

จำเลยฎีกาประการแรกว่า คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน โจทก์ส่งพยานเอกสารโดยมิได้นำพยานหลักฐานมาสืบ จึงถือว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูล ศาลชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียนั้น 

เห็นว่า ตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าตามสัญญาซื้อขายซึ่งโจทก์จำเลยได้ตกลงกำหนดราคาสินค้ากันไว้แล้วเป็นเงินจำนวน 1,320,930 บาท ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าจำนวน 971,497.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดคำนวณถึงวันฟ้องรวมเป็นเงิน 1,033,836.87 บาท จึงเป็นกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ดังนั้น แม้การซื้อขายดังกล่าวจะมีข้อตกลงชำระค่าสินค้าเป็นงวดและโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่สินค้าไม่ครบจำนวนตามสัญญาเนื่องจากจำเลยชำระค่าสินค้าบางส่วนแก่โจทก์และโจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าสินค้าก็ไม่เป็นเหตุให้คดีของโจทก์กลับกลายเป็นคดีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน การที่โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลชอบที่จะรับฟังพยานเอกสารของโจทก์ดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ 

ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม โจทก์จะฎีกาว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์ฉ้อฉลโจทก์เพราะทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้กระทำได้ ได้หรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 4658/2562 

โจทก์ฎีกาว่า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ฉ้อฉลโจทก์เพราะทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้กระทำได้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้ออ้างของโจทก์เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง (2)  

การตีความหนังสือมอบอำนาจท้ายคำฟ้องว่า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์มีสิทธิฎีกาได้ เมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่มีอำนาจ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันโจทก์ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่ชอบ  

โจทก์อุทธรณ์และฎีกาขอให้พิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมตกเป็นโมฆะและขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ ต้องเสียขึ้นศาลชั้นอุทรรณ์และชั้นฎีกาชั้นละ 200 บาท 

ผู้ร้องยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งว่า ผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้ส่งสําเนาคําร้องขอและประกาศแจ้งวันนัดไต่สวนโดยวิธีการประกาศหนังสือพิมพ์ ทั้งที่ผู้ตายมีผู้จัดการมรดกตามกฎหมายและทราบที่อยู่ของผู้จัดการมรดก ดังนี้ กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และคดีดังกล่าวถือเป็นคดีเกี่ยวเนื่องกับสิทธิแห่งสภาพบุคคลสิทธิในครอบครัวหรือไม่

คําพิพากษาฎีกาที่ 730/2562 

 ผู้ร้องยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งว่า ผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้จะเป็นการเริ่มต้นแบบคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 แต่คําร้องขอของผู้ร้องมีเจตนาเพื่อใช้สิทธิทางศาลเพื่อยังให้ได้รับการรับรองคุ้มครองในสิทธิของตนตามที่บัญญัติในมาตรา 55 คําร้องขอของผู้ร้องจึงเป็นคําคู่ความ ตามความหมายมาตรา 1 (5) อันเป็นการโต้แย้งกับสิทธิหรือส่วนได้เสียของบุคคลที่สาม นอกจากนี้ คําร้องขอของผู้ร้องดังกล่าว ยังเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับสิทธิแห่งสภาพบุคคลสิทธิในครอบครัว และสิทธิในการรับมรดกของผู้ตาย เมื่อพิจารณาประกอบกับคําร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่กล่าวว่า การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องกระทบกระเทือนต่อส่วนได้เสียหรือสิทธิในการรับมรดกผู้ตายในส่วนของผู้คัดค้านและทายาทอื่นด้วย ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านข้อเท็จจริงตามคําร้องขอของผู้ร้องได้ 

ผู้ร้องทราบก่อนยื่นคําร้องขอแล้วว่า ผู้ตายมีผู้จัดการมรดกตามกฎหมายและทราบที่อยู่ของทายาทที่เป็นผู้จัดการมรดกด้วย จึงอยู่ในวิสัยและเงื่อนไขที่ผู้ร้องสามารถส่งสําเนาคําร้องขอและแจ้งวันนัดไต่สวนด้วยการส่งหมายนัดและสําเนาคําร้องขอโดยวิธีธรรมดาให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 72 ได้ ไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะส่งคําคู่ความโดยวิธีอื่นตาม มาตรา 79 การที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งให้ส่งสําเนาคําร้องขอและแจ้งวันนัดไต่สวนโดยวิธีการ ประกาศหนังสือพิมพ์ย่อมทําให้ผู้คัดค้านและทายาทของ ก. ไม่ทราบเรื่องดังกล่าว ไม่มีโอกาสโต้แย้งคัดค้านคําร้องขอของผู้ร้องก่อนตามมาตรา 21 (2) ถือว่าเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้เป็นไปด้วยความยุติธรรมในการส่งคําคู่ความ กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6