คำพิพากษาฎีกาที่ 9971/2558 โจทก์นำสืบว่า โจทก์ประดิษฐ์คำว่า “SINGAPOREAIR” ขึ้นใหม่โดยนำคำว่า “SINGAPORE” และ “AIR” มาเรียงต่อกันเกิดเป็นคำใหม่และไม่มีคำแปลหรือความหมายตามพจนานุกรม แม้คำที่โจทก์นำมาเรียงต่อกันจะเป็นภาษาโรมันขึ้นใหม่เพราะเรียงอักษรติดต่อกันไป แต่โจทก์และประชาชนทั่วไปก็เรียกขานว่า สิงคโปร์แอร์ ซึ่งเป็นคำเรียกขานของคำเดิมที่นำมาเรียงต่อกันนั่นเอง คำว่า “SINGAPORE” ตามพจนานุกรมและความเข้าใจของคนทั่วไปหมายถึง ประเทศสิงคโปร์ และคำว่า “AIR” แปลว่า อากาศจึงไม่อาจถือได้ว่าคำว่า “SINGAPOREAIR” ไม่มีคำแปลดังที่โจทก์กล่าวอ้างได้ เมื่อเครื่องหมายบริการคำว่า “SINGAPOREAIR” ของโจทก์นำมาใช้กับบริการในจำพวก 39 รายการบริการการขนส่งทางอากาศ การขนส่งผู้โดยสาร การขนส่งสินค้า ฯลฯ ย่อมเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะของการบริการโดยตรง จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2)
คำว่า “SINGAPORE” แปลว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์
ซึ่งเป็นชื่อของรัฐต่างประเทศ ถือได้ว่าเครื่องหมายบริการ คำว่า “SINGAPOREAIR”
ของโจทก์มีชื่อของรัฐต่างประเทศอยู่ด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากผู้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ของประเทศสิงคโปร์ให้นำคำว่า
“SINGAPORE” มาใช้เป็นชื่อทางการค้า คำขอของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตาม
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (6)
ข้อสังเกต
คำพิพากษาฎีกานี้โดนห้ามไม่ให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 2 เรื่อง
กล่าวคือไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ 2 เรื่อง
-เรื่องแรกคือ เป็นชื่อของรัฐต่างประเทศ
ถือเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ตามมาตรา 7 วรรคสอง (2)
-เรื่องที่สองคือ
คำทั้งสองคำพอเอามารวมกันแล้ว
ก็เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
เมื่อไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ก็ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
#ปล.คำพิพากษาศาลฎีกานี้ไม่ปรากฎในคำบรรยายสมัยที่
73 โดยในการบรรยายสมัยที่ 74 ท่านอาจารย์กล่าวว่าเป็นฎีกาเพิ่มเติม